พาเที่ยว วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง จังหวัดพัทลุง

พาเที่ยว วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง จังหวัดพัทลุง

วัดคูหาสวรรค์ เป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่พระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์โปรดในการเสด็จอยู่เสมอ มีโบราณสถานและรูปแบบศิลปกรรมที่สำคัญ
ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดคูหาสูง” หรือ “วัดสูง” ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างเมื่อใด ตามตำนานนางเลือดขาวระบุไว้ว่า เมื่อตาสามโมกับยายเพชรถึงแก่กรรมแล้ว กุมารกับนางเลือดขาวให้นำอัฐิของท่านทั้งสองไปเก็บไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ ๑ องค์ และพระพุทธรูปปูนปั้น ปั้นด้วยดินเหนียวเรียงแถวเป็นระเบียบทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก รวม ๓๗ องค์

พระมหากษัตริย์หลายพระองค์เคยเสด็จประพาสที่นี่ ดังพระปรมาภิไธยย่อที่ทรงจารึกไว้ว่า จ.ป.ร.๑๐๘ บริเวณหน้าถ้ำ และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จ พระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จประพาสถ้ำคูหาสวรรค์ ทรงจารึกพระปรมาภิไธย ภปร.และสก.๑๗.๓.๒๕๐๒ ไว้ที่เพิงหน้าถ้ำ ถ้ำนี้ลึกและยาว มีทางลอดใต้ภูเขาออกไปถ้ำนางคลอดซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง ปัจจุบันวัดคูหาสวรรค์ได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเชิงเขาหัวแตก ตำบลคูหาสวรรค์ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดพัทลุงประมาณ ๘๐๐ เมตรด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีเททองหล่อพระหน้าตักกว้าง ๔๐ นิ้ว น้ำหนัก ๑,๔๐๐ กิโลกรัม ประกอบด้วยโลหะทองเหลือง ทองแดง ทองขาวอย่างละ ๓ ส่วน พุทธาภิเษก ๓ ครั้ง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๑ เนื่องจากเป็นจังหวัดอันเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์อันยาวนานของภาคใต้

ถ้ำคูหาสวรรค์
ที่ตั้ง วัดคูหาสวรรค์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ประวัติ ถ้ำคูหาสวรรค์ตั้งอยู่ในวัดคูหาสวรรค์ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดคูหาสูง” หรือ “วัดสูง” ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ตามตำนานนางเลือดขาวระบุว่า เมือตาสามโมกับยายเพชรถึงแก่กรรมแล้ว กุมารกับนางเลือดขาวให้นำอัฐิของท่านทั้งสองไปเก็บไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์

ตามความในหนังสือทำเนียบวัดจังหวัดพัทลุงของพระครูอริยสังวร(เอียด) กล่าวว่า วัดคูหาสวรรค์สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๔ ส่วนความในหนังสือพระกัลปนาวัดเมืองพัทลุงสมัยอยุธยา ระบุว่าพระราชมุนีร่วมกับพระครูธรรมรังษี พระมหาเถรพุทธรักขิต พระครูบุศเทพ พระหมื่นเทพบาล สร้างวัดบริเวณ ถ้ำ คูหาสวรรค์ และก่อพระพุทธรูป ๒๐ องค์ สร้างพระเจดีย์ ๗ องค์ เข้าถวายพระราชกุศลเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้มีพระตำรา ตราโกษาธิบดี ยกญาติโยมและ๓มิสัตว์ไร่นาอันมีในที่นั้น ๑๒ หัวงานขาดออกจากส่วยหลวง เป็นศีลบานทานพระกัลปนาสำหรับวัดคูหาสวรรค์สืบต่อไป อยู่ต่อมา เมื่อออกเมืองคำออกเป็นเจ้าเมืองพัทลุง อุยงคตนะโจรสลัดมลายูยกกำลังเข้าปล้นเมืองพัทลุง ได้เผาผลาญบ้านเรือน วัดวาอารามมาจนถึงตำบลคูหาสวรรค์ ดังนั้นวัดคูหาสวรรค์ก็น่าจะถูกทำลายไปด้วย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วัดคูหาสวรรค์จึงได้รับการบูรณะใหม่

สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๔๓๒ วัดคูหาสวรรค์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งเสด็จประพาสแหลมมลายูในครั้งนั้นทรงจารึกพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ๑๐๘ ไว้บริเวณหน้าถ้ำ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา นุวัติวงศ์ก็ได้เสด็จวัดคูหาสวรรค์

ถ้ำคูหาสวรรค์ เดิมชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำน้ำเงิน” หรือ “ถ้ำพระ” ส่วนชื่อคูหาสวรรค์ เชื่อว่าน่าจะมีการเรียกมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ถ้ำกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สูงเป็นเวิ้งรูปกรวย ตอนบนมีหินงอกคล้ายรูปช้าง ชาวบ้านเรียกว่า “ช้างผุด” หรือ หินลับแล พื้นถ้ำปูด้วยอิฐถือปูน มีเจดีย์เล็กๆหนึ่งองค์ มีพระพุทธรูปปูนปั้นและปั้นด้วยดินเหนียวเรียงแถวเป็นระเบียบทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และ ทิศตะวันตก รวม ๓๗ องค์ มีขนาดต่างๆกัน พระพุทธรูปเหล่านี้ตามประวัติว่า พระราชมุนี(สมเด้จเจ้าพระโคะหรือหลวงพ่อทวดวัดช้างให้)ได้ร่วมสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาจำนวน ๒๐ องค์ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับการบูรณะและสร้างเพิ่มเติมขึ้นอีก ๑๗ องค์ ด้านทิศตะวันออกของเศียรพระพุทธไสยาสน์มีกรุพระพิมพ์ที่ชาวบ้านได้ขุดพบพระแบบต่างๆเป็นจำนวนมาก มีทั้งพระจำหลักไม้พระพุทธรูปปูนปั้น พระสำริด และพระพิมพ์ดินดิบสมัยศรีวิชัย ชาวบ้านเรียกว่า “พระผีทำ” ปากถ้ำมีหินเป็นชั้นกั้นติดกับหินปากถ้ำ สูงประมาณ ๒ เมตร ชาวบ้านเรียกว่า “หัวทรพี” ตรงข้ามเป็นรูปพระฤาษีตาไฟปูนปั้น มีตำนานวื่ นางเลือดขาวกับเจ้าพระยากุมารสร้างขึ้นแทนอนุสาวรีย์ตาสามโมกับยายเพชร และได้บรรจุอัฐิของตายายทั้ง ๒ ไว้ ภายใน ชาวบ้านถือว่า ศักดิ์สิทธิ์มากมีการบนบานปิดทองเต็มทั้งองค์จนไม่สามารถเห็นลักษระแท้จริงได้ เคยได้รับการบูรณะมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘

กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘(กรมศิลปากร ๒๕๓๓ : ๓๙)

วัดคูหาสวรรค์
248 ถนนราเมศวร์ ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง พัทลุง

Share