พาเที่ยววัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี

พาเที่ยววัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี

วัดใหญ่สุวรรณาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “วัดใหญ่” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร เดิมชื่อว่า “วัดน้อยปักษ์ใต้” เป็นวัดเก่าแก่และสำคัญมากของจังหวัดเพชรบุรี สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นแหล่งรวมฝีมืองานช่างที่ปราณีตอ่อนช้อยและงดงาม ของชาวเพชรบุรีไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เป็นภาพเทพชุมนุมศิลปะอยุธยาฝีมือช่างเมืองเพชร ด้วยความงดงามและความเก่าแก่ของทำให้วัดใหญ่สุวรรณรามเคยใช้เป็นฉากในภาพยนตร์ในหลายเรื่อง

พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนที่มีฐานปัทม์อ่อนโค้งแบบฐานสำเภา มีระเบียงคดล้อมรอบเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยสมัยอยุธยา หน้าบันเป็น งานรูปปั้นสมัยอยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต ภายในพระอุโบสถมีภาพทวารบาล ภาพพุทธประวัติ จิตรกรรมภาพเทพชุมนุม เรียงรายกัน 5 ชั้นมีอายุกว่า 400 ปี เสาและเพดานมีการตกแต่งด้วยลายทองบนพื้นแดงอย่างวิจิตร พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย พุทธลักษณะสมส่วนสวยงาม ที่ฐานพระตกแต่งลวดลายปูนปั้นและปิดทองประดับกระจกสีสวยงามมาก มีพระพุทธรูปที่งดงาม อีกหลายองค์ประดิษฐานบนฐานชั้นล่าง ได้แก่ พระคันธารราษฎร์ พระพุทธรูปเก่าแก่ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 5 ทรงอัญเชิญมา ประดิษฐานในโบสถ์แห่งนี้ และมีรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชแตงโมประดิษฐานอยู่หน้าพระประธาน ด้านหลังพระประธาน เป็นพระพุทธรูปที่มีนิ้วพระบาท ๖ นิ้ว เรียกกันว่า “พระหกนิ้ว” นับเป็นเรื่องแปลกที่เล่าสืบกันมาว่าพระพุทธรูปองค์นี้ช่างตั้งใจที่จะ สร้างให้มี ๖ นิ้ว (มองเห็นเฉพาะพระบาทขวา ส่วนพระบาทซ้ายเป็นท่าขัดสมาธิอยู่ใต้พระชานุ) อันเนื่องมาจากพระพุทธรูปในวัดเขายี่สาร มีนิ้วพระบาทรวมกันได้ ๙ นิ้ว เมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปที่วัดใหญ่สุวรรณาราม ช่างจึงได้สร้างให้มีนิ้วพระบาทเกินมา ๑ นิ้ว ตำนานเรื่องนี้ไม่มีข้อพิสูจน์ แต่ถ้าเกิดจากความบังเอิญนับว่าเป็นความบังเอิญที่ประจวบเหมาะกันมากเพราะวัดเขายี่สารอยู่ในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงครามซึ่งอยู่ติดกับจังหวัดเพชรบุรี ทั้ง ๒ วัดห่างกันประมาณ ๒๘.๕ กิโลเมตร โดยมีอำเภอบ้านแหลมคั่นอยู่

ศาลาการเปรียญ
ลักษณะเป็นเรือนไทยขนาดใหญ่ สร้างด้วยไม้ผนังเป็นฝาปะกน เครื่องหลังคาเป็นโครงประดุชนิดมีจันทันต่อ มุงด้วย กระเบื้องกาบู แต่ด้วยการบูรณะที่ไม่ถูกต้องจึงมีการเทปูนตำ(ปูนโบราณ)ลงฉาบทั้งผืนหลังคา แต่ปูนตำเป็นปูนที่ใช้กะดาษฟางเป็น ส่วนผสมจึงทำให้อมความชื้นและมีตะใคร่ขึ้นจับหลังคา ศาลาการเปรียญเดิมเป็นตำหนักที่ประทับของพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือรื้อมาถวายพระสังฆราชแตงโม ภายในศาลมีพระประธานภายในศาลาการเปรียญ ธรรมาสน์โบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา

บานประตูแกะสลักที่งดงามและมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์และศิลปกรรมนั่นคือเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และที่บานประตู มีรอยทหารพม่าใช้ขวานจามบานประตูเพื่อจับคนที่อยู่ข้างใน

หอเก็บพระไตรปิฏก
เป็นอาคารไม้ผนังฝาปะกน รองรับด้วยเสาไม้ 3 เสา จากแนวคิดที่ว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย 3 ปิฎกคือ พระธรรมปิฏก พระไตรปิฏก และพระสุตันตปิฎก

Share