สินค้าแนะนำ

พาเที่ยว อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอ ปัว น่าน

พาเที่ยว อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอ ปัว น่าน

ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ป่าต้นน้ำ ป่าดึกดำบรรพ์ปลายทางหิมาลัย ขุนเขาใต้ทะเล ค้นพบดอกชมพูภูคา ไม้หายากที่จะบานในราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

น่าทึ่งมากที่อุทยานแห่งชาติแห่งนี้เคยคว้ารางวัลยอดเยี่ยม รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติภาคเหนือ โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 1,065,000 ไร่ หรือ ประมาณ 1,704 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอในจังหวัดน่าน คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม สภาพทั่วไป ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ประกอบด้วยป่า 6 ประเภท ได้แก่ ป่าดงดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนธรรมชาติ และทุ่งหญ้า เป็นแหล่งของพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ และพรรณไม้เฉพาะถิ่น เทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัย โดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน สูงถึง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ดอยภูคายังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว และลำน้ำว้า จากทะเลสู่ทิวเขา มีข้อสันนิษฐานหนึ่ง ระบุว่า บริเวณอุทยานฯ แห่งนี้ เดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน ก่อนจะเกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินสองผืนใต้ทะเลเข้าหากัน ทำให้แผ่นดินโก่งตัวขึ้น น้ำทะเลใต้ดินระเหยไป เหลือเพียงสินแร่เกลือดังที่พบในอำเภอบ่อเกลือ นอกจากนี้หลักฐานอีกชิ้นที่ยืนยันข้อสมมติฐานนี้ได้ดี คือ การค้นพบสุสานหอยทะเลอายุประมาณ 200 ล้านปี บนดอยภูแวที่บ้านค้างฮ่อ ตำบลสะกาด อำเภอปัว ซึ่งมีลักษณะเป็นหอยแครงสองฝา ทั้งนี้ ดร.จงพันธ์ จงลักษณ์มณี นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ได้สรุปว่า เป็นซากหอยที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พาลีโอคาร์ดิต้า สปีชี่ (Paleocardita Species) อายุ 195-205 ล้านปี จัดอยู่ในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ตอนปลาย ที่สุดแห่งดอยภูคา – ต้นชมพูภูคา (Bretschneidera sinensis Hemsl.) พืชหายากในประเทศไทยจะพบเพียงแห่งเดียวที่ป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 25 เมตร ออกดอกเดือนมกราคมถึงต้นมีนาคมเท่านั้น – ต้นเต่าร้างยักษ์ มักขึ้นในเขตป่าดิบและพรรณไม้เฉพาะถิ่นของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีลักษณะเป็นปาล์มลำต้นเดียว สูงประมาณ 40 เมตร – ก่วมภูคา จัดเป็นพืชหายาก มีลักษณะเป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ใบอ่อนสีแดงเว้าเป็น 5 แฉก ใบแก่สีเขียว 3 แฉก เป็นพืชวงศ์เดียวกับเมเปิ้ลใบห้าแฉก และกระโถนพระฤาษี – นกมุ่นรกตาแดง นกพญาไฟใหญ่ และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย เป็นนกเฉพาะถิ่นที่หายากมาก หากสามารถพบได้ที่นี่ สถานที่ท่องเที่ยว – ชมพูภูคา เพราะที่นี่คือบ้านหลังสุดท้ายของต้นชมพูภูคา พันธุ์ไม้หิมาลัย ที่หาดูชมได้ยากยิ่งในโลกนี้ โดย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ดร.ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้ (ในขณะนั้น) ได้สำรวจพบเป็นครั้งแรกในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ ดอกชมพูภูคาจะผลิดอกตามปลายกิ่งเป็นช่อสีชมพูยาว 30-35 เซนติเมตร เมื่อบานเต็มที่จะมี ช่อดอกเป็นพุ่มสวยงาม

ทั้งนี้ ชมพูภูคาเป็นพันธุ์ไม้ที่เคยมีการสำรวจพบตามหุบเขาแถบมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีนและทางเหนือของเวียดนาม จากนั้นก็ไม่มีรายงานการค้นพบพืชชนิดนี้อีกเลย
พื้นที่ป่าดิบเขาดอยภูคาจึงอาจเป็นแหล่งกำเนิดสุดท้ายของชมพูภูคา ซึ่งเป็นไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ ชนิดหนึ่งของโลกก็เป็นได้ จุดชมต้นชมพูภูคาที่เข้าถึงง่ายที่สุด อยู่ริมถนนห่างจากที่ทำการไป 5 กิโลเมตร และมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติจัดไว้ 2 เส้นทาง ได้แก่o เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอกชมพูภูคา มีทั้งเส้นรอบใหญ่ ระยะทาง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชั่วโมง และเส้นทางรอบเล็กระยะทาง 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1.30 ชั่วโมง ซึ่งจะพบพันธุ์ไม้ที่หายากและพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น สมุนไพร เป็นต้น เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าดึกดำบรรพ์ (ดอยดงหญ้าหวาย) ระยะทาง 7 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชั่วโมง จัดเป็นแหล่งดูนกที่คุณจะพบ นกไต่ไม้สีสวย ซึ่งพบได้เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีนกชนิดต่าง ๆ และผีเสื้อนานาพันธุ์ให้ได้ชม – ยอดดอยภูแว ยอดดอยที่มีความสูง 1,837 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เมื่อขึ้นไปบนนั้น จะพบทุ่งหญ้าบนดอย ลานหิน และหน้าผาสูงชัน และมีพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นที่หายาก เช่น ค้อ กุหลาบพันปี โดยในช่วงฤดูหนาวจะมีความสวยงามมากo การเดินทางโดยทางรถยนต์ : จากที่ทำการอุทยานฯ ไปถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูคาที่ 9 (บ้านด่าน) ระยะทางประมาณ 63 กิโลเมตร และเดินทางเท้าขึ้นยอดดอยภูแวประมาณ 6 กิโลเมตร (มีลูกหาบไว้บริการ) – น้ำตกศิลาเพชร อยู่ที่บ้านป่าตอง ตำบลศิลาเพชร เป็นน้ำตกลงมาจากหน้าผาหลายชั้นลดหลั่นกันไป โดยไม่ว่าจะลงเล่นน้ำหรือชื่นชมผีเสื้อนานาชนิด ก็เต็มไปด้วยความรื่นรมย์ไม่แพ้กัน

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่าน-ปัว ก่อนถึงอำเภอปัว ตรงหลักกิโลเมตรที่ 41-42 มีทางแยกขวามือเข้าทางหลวงหมายเลข 1170 ไปประมาณ 10 กิโลเมตร เดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 10 เมตร – ถ้ำผาแดง เป็นถ้ำที่มีความยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ภายในยังน่าตื่นตาด้วยด้วยหินงอกหินย้อย สายน้ำตก และลำธารขนาดใหญ่ ในอดีตถ้ำแห่งนี้ถูกใช้เป็นที่หลบภัยของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่นี่จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์เสี้ยวหนึ่งของเมืองไทยที่น่าสนใจมิใช่น้อย นอกจากการได้เรียนรู้ระบบนิเวศของถ้ำแล้ว คุณจะได้ชมร่องรอยที่พัก เตียงนอนทหาร เตียงนอนคนไข้ที่บางหลังอยู่ในสภาพใช้ได้ หลุมสำหรับซ่อนอาวุธ และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ราวกับเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมเลยทีเดียวการเดินทาง ต้องเดินเท้าประมาณ 3 ชั่วโมง ลัดเลาะเนินเขา ซึ่งจะได้ชมความสวยงามของธรรมชาติ พันธุ์ไม้ และสัตว์ป่าต่าง ๆ บ้านม้งที่อาศัยอยู่อย่างธรรมชาติกลางหุบเขา – ถ้ำผาฆ้อง ตื่นตากับหินงอกหินย้อยมากมายภายในถ้ำแห่งอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่มีความสำคัญมากต่อระบบนิเวศ ภายในมีคูหาถ้ำจำนวนมากที่มีความต่อเนื่องถึงกัน แต่ละคูหาก็ละลานตาไปด้วยหินงอกหินย้อยรูปลักษณ์ต่าง ๆ ดูแปลกตา สวยงาม อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูฝน ถ้ำผาฆ้องจะมีสายน้ำไหลผ่านเข้าไปภายในถ้ำ จึงทำให้ไม่สามารถเข้าไปเที่ยวชมได้ และการเดินทางชมถ้ำต้องเตรียมไฟฉายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปเอง ควรติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ล่วงหน้าทุกครั้ง – น้ำตกต้นตอง เป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลาง มี 3 ชั้น สูงประมาณ 60 เมตร ความน่าสนใจอยู่ที่บนโตรกผามีพืชชุ่มน้ำมากมาย เช่น ตะไคร่น้ำ เฟิร์น เป็นต้นการเดินทาง ที่นี่อยู่ห่างจากอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงแยกบ้านเต๋ย ขับรถไปอีกประมาณ 800 เมตร เดินต่ออีกประมาณ 200 เมตร ซึ่งเป็นทางเดินลาดชัน – น้ำตกภูฟ้า เมื่อเทือกเขาน้อยใหญ่ที่ทอดตัวสลับซับซ้อน กลายเป็นผืนป่าอันไพศาล ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และเมื่อมีป่าก็ต้องมีน้ำ และสายน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของอุทยานฯ แห่งนี้ ก็คือน้ำตกภูฟ้านั่นเอง โดยมีความสูงประมาณ 140 เมตร มีทั้งหมด 12 ชั้น หากต้องการเยี่ยมชมต้องใช้เวลาเดินป่าไป-กลับถึง 3 วัน 2 คืน เพราะตัวน้ำตกอยู่กลางป่าลึกใกล้ชายแดนลาว และที่สำคัญต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางด้วยทุกครั้ง – น้ำตกตาดหลวง อยู่ห่างจากบ้านทุ่งเฮ้า อำเภอปัว ประมาณ 1 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำตกสวยงาม เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำ และเป็นแหล่งอนุรักษ์ปลาพลวงอีกด้วย – ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง เป็นเส้นทางล่องแก่งที่อยู่ในระดับ 3-5 ซึ่งมีแก่งท้าทายมากถึง 20 กว่าแก่ง นับเป็นสุดยอดของความตื่นเต้นที่สุดในการล่องแก่งของเมืองไทยเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นล่องแก่ง เนื่องจากค่อนข้างอาศัยทักษะและความชำนาญค่อนข้างมาก ค่าเข้าชม อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ ราคา 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ราคา 200 บาท เด็ก 100 บาท – อุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ ราคา 300 -2,500 บาท

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1256
ตำบล ภูคา อำเภอ ปัว น่าน 55120 ประเทศไทย

Share