พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต

  เมื่อประมาณปี พ.ศ.2525 กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ต ส่วนราชการ เอกชน และองค์กรประชาชนในท้องถิ่น มีแนวคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมจัดแสดงให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ต และเพื่อเป็นการ “ฉลอง 200 ปีวีรสตรเมืองถลาง” ซึ่งครบรอบในปี พ.ศ.2528

        กรมศิลปากรได้เริ่มก่อสร้างตัวอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2528 แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2529 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2532 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด

        อาคารของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ออกแบบโดยนายอุดม สกุลพาญิช โดยได้ดัดแปลงรูปแบบอาคารมาจากเรือนไทยพื้นถิ่นภาคใต้โดยการนำวัสดุสมัยใหม่มาประยุกต์ในการก่อสร้างเพื่อความคงทนถาวร เป็นอาคารที่โดดเด่นในด้านการอนุรักษ์แบบบ้านโบราณ อาคารหลังนี้จึงได้รับรางวัล Gold Medal ซึ่งเป็นรางวัลออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารที่ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในงานนิทรรศการ “สถาปนิก 30”

        พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จึงถือเป็นอาคารที่มีความสำคัญและได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 17 ง วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2542

ข้อมูลสถานที่

ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร ห่างจากอนุสาวรีย์ไปทางถนนสายป่าคลอก ประมาณ 200 เมตร ตัวอาคาร ได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงเป็นบ้านท้องถิ่นของชาวภูเก็ต มี 2 หลัง อาคารหลังแรกจัดแสดงเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเลตะวันตก สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมื่ออารยธรรมอินเดียเผยแพร่เข้ามา ประวัติและวิธีการทำเหมืองแร่ดีบุก และสวนยางพารา ศิลปะพื้นบ้านและชาติพันธุ์วิทยาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู สำหรับอาคารหลังที่สองจัดแสดงฉากและเรื่องราวของศึกถลาง ชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีที่น่าสนใจของชาวจีนในภูเก็ต และเรื่องราวความเป็นมาและถิ่นอาศัยของชาวเลในภูเก็ต


ลักษณะเด่น

-พระนารายร์ -ชมงานศิลปะ – – – –


ประวัติ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดภูเก็ต ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเชิดชูเกียรติของสองวีรสตรี และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมการจัดการแสดงให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียงแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งเป็นสถานที่อนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมและสนับสนุนกิจการด้านการท่องเที่ยวของภูเก็ต อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง จึงเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าในแง่ของการอนุรักษ์รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมท้องถิ่น

ผู้นำเสนอ

นำเสนอโดย lemon

Share

Written by: