พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว จังหวัดภูเก็ต

พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว จังหวัดภูเก็ต

พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เป็นโรงเรียนจีนฮกเกี้ยนซึ่งปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมของชาวภูเก็ต สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ตั้งอยู่ที่ถนนกระบี่ ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวเดิมประกอบด้วยศาลเจ้าและโรงเรียนสอนภาษาจีนชั้นสูงชื่อ “ฮั่วบุ่น” ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนภูเกตจุงหัว และในปี พ.ศ. 2491 ได้เปลี่ยนมาเป็น โรงเรียน ภูเก็ตไทยหัว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวได้ย้ายไปอยู่ที่ตั้งใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 อาคารเรียนหลังนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน หลังจากนั้น มูลนิธิกุศลสงเคราะห์ จังหวัดภูเก็ต และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ปรึกษาหารือและตกลง ที่จะปรับปรุงอาคารและพื้นที่โดยรอบเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ได้รับการออกแบบอาคารให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส หรือ ซีโน-โปรตุกีส ซึ่งเป็นรูปแบบทั่วไปในย่านเมืองเก่าภูเก็ต มีผังอาคารเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตรล้อมลาน กลางอาคารที่ตรงกับช่องเปิดโล่งในหลังคา หลังคาเป็นหลังคาปั้นหยาผสมหลังคาจั่ว มุงกระเบื้องกาบกล้วยดินเผา

พิพิธภัณฑ์ภู้เก็ตไทยหัว เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงประวัติและที่มาของชาวจีน ที่อพยพและย้ายถิ่นเข้ามาอยู่จังหวัดภูเก็ต ให้ลูกหลานคนจีน คนไทย รู้จักที่มาของบรรพชนอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ตระหนักถึงตัวตนที่แท้จริง  และเพื่อให้นักท่องเที่ยวและชาวต่างประเทศ ได้มีโอกาสศึกษาและเข้าใจความเป็นอยู่ พฤติกรรม และอุปนิสัยของชาวภูเก็ต  รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์รวมของการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต

พิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงเป็น 15 ส่วน ประกอบด้วย

            1. ห้องจากแดนพญามังกร

            2. สายธารสัมพันธ์

            3. สัมพันธ์ภูเก็ตจีน

            4. น้ำใจพี่น้อง

            5. ดูอดีต

            6. วิถี

            7. หนึ่งยุคสมัย

            8. สีสันพันกาย

            9. ครูสุ่นปิ่น

            10. โรงเรียนจีน

            11. คนจีนสร้างเมือง

            12. สืบทอด

            13. วัฒนธรรมการกิน

            14. ล๊อกเซี่ยนก๊ก

            15. กิจกรรม

พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว (Phuket Thai Hua Museum) ที่แห่งนี้ในอดีตเคยเป็น โรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรก ของจังหวัดภูเก็ต ในประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยบรรพบุรุษ ชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาที่ภูเก็ต อาคารมีลักษณะงดงาม ในสไตล์ชิโนโปรตุเกส ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2520 และยังคงอนุรักษ์ไว้ ในฐานะพิพิธภัณฑ์ เพื่อจัดนิทรรศการถาวร และกิจกรรมทางวัฒนธรรม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 โรงเรียนถูกย้ายไปยัง ถนนวิชิตสงคราม ทำให้สถานที่แห่งนี้เงียบสงบ และกลายเป็นเพียงสถานที่พบปะ ของครูและศิษย์เก่า ผู้คนในท้องถิ่นรวมทั้งหน่วยงานรัฐ ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ จึงมีมติร่วมกันในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อดำรงไว้ซึ่งสมบัติทางสถาปัตยกรรม และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่นต่อไป

ในปี พ.ศ. 2551 พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เพื่อจัดแสดงศิลปะและวัฒนธรรม ของชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งเริ่มจากโรงเรียนสอนภาษาจีน แห่งแรกในภูเก็ต ไปจนถึงพิพิธภัณฑ์ลูกหลานชาวจีนฮกเกี้ยน เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์ภูเก็ต ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์และระลึกถึง คุณงามความดีของบรรพบุรุษ

ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ได้แก่ จากแดนพญามังกร, สายธารสัมพันธ์, สัมพันธ์ภูเก็ตจีน, น้ำใจพี่น้อง, ดูอดีต, วิถี, หนึ่งยุคสมัย, สีสันพันกาย, ครูสุ่นปิ่น, โรงเรียนจีน, คนจีนสร้างเมือง, สืบทอด, วัฒนธรรมการกิน และล้อกเซี่ยนก๊ก รวมถึงภาพถ่ายเก่าของท้องถิ่น และภาพถ่ายวิถีแห่งภูเก็ต เพื่อบอกเล่าเรื่องราว เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ของชาวจีนฮกเกี้ยน ที่อพยพมายังภูเก็ต

คุณสามารถเรียนรู้ เกี่ยวกับความเชื่อ, วิถีชีวิต, ศิลปะและวัฒนธรรม ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างชาวจีนและชาวภูเก็ต รวมถึงประวัติยาวนานกว่า 60 ปี ของโรงเรียนสอนภาษาจีนไทยหัว ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังได้รับ รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2551 ประเภทอาคารสถาบัน และอาคารสาธารณะ จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

ข้อควรปฏิบัติในการเข้าชม

  • ฝากกระเป๋าและสัมภาระ กรุณานำสิ่งของมีค่าติดตัว
  • ห้ามนำสัตว์เลี้ยง เข้าในเขตพื้นที่พิพิธภัณฑ์
  • งดสูบบุหรี่และบันทึกภาพทุกชนิด ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์
  • งดนำอาหารและเครื่องดื่ม เข้าภายในพิพิธภัณฑ์
  • งดกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่พิพิธภัณฑ์
  • กรุณานำรถออกจากลานจอดก่อนเวลา 17.30 น.

ผู้นำเสนอ

นำเสนอโดย lemon

Share

Written by: