สินค้าแนะนำ

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา

 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ (Mu Ko Surin National Park) หมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน และอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง

ประวัติ

                อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 84,375 ไร่ หรือ 135 ตารางกิโลเมตร มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจากเกาะวางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร นอกเหนือจากการรับอิทธิพลจากคลื่นลม สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของบริเวณหมู่เกาะเหล่านี้ เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ น้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงตอน ซึ่งเป็นอาหารสำหรับปลาและสัตว์อื่นๆ

                ปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ลักษณะของน้ำขึ้นน้ำลงในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแบบ Semidiurnal คือ น้ำขึ้นและน้ำลงอย่างละ 2 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง และความแตกต่างระหว่างน้ำขึ้นสูงสุดและต่ำสุดอาจถึง 3 เมตร ทำให้มีกระแสน้ำเลียบฝั่งค่อนข้างแรง

                เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะ เป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ : https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=996

การเดินทางไปจังหวัดพังงา

                – รถยนต์ (Car/ Bus) จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดพังงา มีระยะทาง 763 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง

                ทั้งนี้ ไม่มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดพังงา แต่สามารถใช้เส้นทางบิน กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ซึ่งเป็นสนามบินจังหวัดใกล้เคียง จากนั้นเดินทางต่อโดยรถยนต์ไปจังหวัดพังงาอีกประมาณ 58 กิโลเมตร

                สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางโดยรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยมีขบวนรถไฟออกจากกรุงเทพฯ ไปลงที่สถานีอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดพังงาอีกประมาณ 2 ชั่วโมง


การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

                – รถยนต์ จากตัวจังหวัดพังงา ไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ (บนฝั่ง) มีระยะทาง 122 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง

                – เรือ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ (บนฝั่ง) มีท่าเรือคุระบุรี ให้บริการเรือทัวร์โดยสารของเอกชน ไปยังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1- 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ ขึ้นกับชนิดของเรือโดยสาร มีตารางการเดินเรือ ดังนี้

                        – จากท่าเรือคุระบุรี เวลา 09.00 น. ของทุกวัน ถึงที่ทำการอุทยานฯ บนเกาะสุรินทร์เหนือ เวลาประมาณ 11.30 น.

                        – จากที่ทำการอุทยานฯ บนเกาะสุรินทร์เหนือ เวลา 13.00 น. ของทุกวัน ถึงท่าเรือคุระบุรี เวลาประมาณ 15.30 น.


เวลาทำการเปิด – ปิด

             ฤดูกาลท่องเที่ยว เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน – 30 เมษายน ของทุกปี ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30น.

             ช่วงปิดฤดูกาล ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม ของทุกปี

อัตราค่าเข้าชม

                ค่าบริการเข้าอุทยาน : ชาวไทย | เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท (เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี/ นักบวช/ ผู้สูงอายุ/ ผู้พิการ : เข้าชมฟรี)

                                                ชาวต่างชาติ | เด็ก 250 บาท ผู้ใหญ่ 500 บาท

                ค่าบริการเรือทัวร์โดยสาร : ไป – กลับ (ท่าเรือคุระบุรี – ที่ทำการอุทยานฯ บนเกาะสุรินทร์เหนือ)             

                                                     – เรือโดยสารทั่วไป ประมาณ 1,100  – 1,200 บาท/คน

                                                     – เรือเร็ว ประมาณ 1,700 บาท/คน


แนะนำกิจกรรมท่องเที่ยวภายในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

                – เดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติชมนก ชมป่า จากอ่าวช่องเขาขาด ไปยังหาดไม้งาม ด้วยระยะทาง 2 กิโลเมตร

                – ดำน้ำตื้นชมแนวปะการังตามจุดต่างๆของหมู่เกาะสุรินทร์

                – เยี่ยมชมหมู่บ้านมอแกน ที่ตั้งอยู่บนเกาะสุรินทร์ใต้

                – ชมพระอาทิตย์ตกยามเย็น

ข้อควรรู้ในการท่องเที่ยว

                – ช่วงปิดฤดูกาล ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม ของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงมรสุม

                – ไม่เหยียบ หรือเก็บปะการัง กัลปังหา หรือหอย ไปเป็นของที่ระลึกส่วนตัว

                – ไม่ทำอันตรายต่อสัตว์น้ำทุกชนิด

                – ไม่ทิ้งขยะลงในท้องทะเล

                – หากพบขยะใต้ท้องทะเล โปรดเก็บมาทิ้งในถังขยะบนเรือหรือที่ชายฝั่ง

ที่มา : https://palanla.com/th/domesticLocation/detail/2323

ผู้นำเสนอ

kimmy

Share

Written by:

371 Posts

View All Posts
Follow Me :