สังเกตเห็นปล่องไฟอิฐสูงตั้งโดดเด่นริมแม่น้ำปากพนังอยู่หลายจุด ปล่องไฟดังกล่าวคือ ปล่องโรงสี ข้าวเก่าในอดีตปากพนังเจริญสูงสุดยุคทำนาข้าวมีความอุดมสมบูรณ์ในฐานะอู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้ มีโรงสีข้าว(โรงสีไฟ) จำนวนมาก หลายโรงนับตั้งแต่ปากคลองบางไทร (ปัจจุบันกั้นเป็นชลประทาน) ปากแพรก บางนาว จนถึงตลาดปากพนังมี 5-6 โรง เช่น โรงสีแม่หนูพิณ (ปากคลองบางไทร) โรงสีหนึ่ง โรงสีแม่ครูและที่เรียกเป็นตัวเลขอีกหลายโรง โรงสีเหล่านี้จะรับซื้อข้าวเปลือก จากชาวนาลุ่มน้ำปากพนัง ทั้งหมด นับตั้งแต่ชะอวด หัวไทร เชียรใหญ่ และปากพนัง ที่โรงสีไฟโรงใดก็เลือกได้ตามความชอบใจ โดยโรงสีข้าวจะส่งต่อเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังแรงงงานชาวจีนที่เข้ามาทำเหมืองแร่และยางพาราบริเวณหัวเมืองชายฝั่งและตะวันออก อย่างเมืองตรัง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ไปจนถึงเกาะปีนังและสิงค์โปร์ ทำให้โรงสีไฟเฉพาะที่อำเภอนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วถึง 9 โรง มีเรือสำเภาจีนและเรือกลไฟจากบริษัทต่างมาชุมนุมเต็มหน้าอ่าวปากพนังรอขนส่งข้าวสารไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ จำนวนมากในแต่ละปี ถึงแม้วันนี้ภาพความยิ่งใหญ่ของแหล่งผลิตข้าวเพื่อการส่งออกในปากพนังจะได้จาง หายไปตามกาลเวลา ท้องทุ่งนา ได้แปรเปลี่ยนเป็นสวนและนากุ้ง กิจการโรงสีไฟที่เคยเจริญรุ่งเรืองเหลือแค่เพียงซากปล่องไฟโรงสีที่ตั้งตระหง่าน เป็นอนุสรณ์แห่งอดีตที่ชาวปากพนังภาคภูมิใจ
อำเภอปากพนังนี้ได้ทราบอยู่แล้วว่าเป็นที่สำคัญอย่างไรแต่เมื่อไปถึงที่ยังรู้สึกว่าตามที่คาดคะเนนั้นผิดไปเป็นอันมากไม่นึกว่าจะใหญ่โตมั่งคั่งถึงเพียงนี้…เป็นที่นาอุดมดีข้างจีนกล่าวกันว่าดีกว่านาคลองรังสิตแลมีที่ว่างเหลืออยู่มากจะทำนาได้ใหญ่กว่าที่มีอยู่แล้วเดี๋ยวนี้อีก๑๐เท่าเขากะกำลังทุ่งนั้นว่าถ้ามีนาบริบูรณ์จะตั้งโรงสีไฟได้ประมาณ๑๐โรง…นาทั้งมณฑลนครศรีธรรมราชไม่มีที่ไหนสู้…บรรดาเมืองท่าในแหลมมลายูฝั่งตะวันออกเห็นจะไม่มีแห่งใดดีเท่าปากพนัง
ลักษณะเด่น
โดยปัจจุบันทางอำเภอปากพนังได้ทำการอนุรักษ์โรงสีต่างๆ ไว้ และกำลังเริ่มพัฒนาให้เห็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง ประวัติศาสตร์เพื่อ ให้เข้าชมและเรียนรู้ถึงกลิ่นไปในอดีตที่เคยรุ่งเรืองของปากพนัง ซึ่งโรงสีที่เปิดให้เข้าชมในปัจจุบัน คือ โรงสีแม่ครู ผู้ก่อตั้งยุคแรก คือ จีนโคว้ ฮักหงี เป็นโรงสีแห่งแรกในภาคใต้สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจการโรงสี เมื่อ พ.ศ. 2447 ปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนมือเจ้าของมาเป็นของบุคคล ซึ่งทำการซื้อโรงสีจากเจ้าของเดิมเพื่ออนุรักษ์ไว้ ซึ่งโรงสีดังกล่าวมีต้นไม้และรากไทร ขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุมไปทั่วบริเวณเป็นภาพที่ดูอัศจรรย์และแปลกตา สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าชม ควรติดต่อไปยัง เจ้าของพื้นที่ ก่อนล่วงหน้า เพราะโรงสีดังกล่าวเป็นพื้นทส่วนบุคคลและล๊อกกุญแจทางเข้าไว้
ประวัติ
อำเภอปากพนังนี้ได้ทราบอยู่แล้วว่าเป็นที่สำคัญอย่างไรแต่เมื่อไปถึงที่ยังรู้สึกว่าตามที่คาดคะเนนั้นผิดไปเป็นอันมากไม่นึกว่าจะใหญ่โตมั่งคั่งถึงเพียงนี้…เป็นที่นาอุดมดีข้างจีนกล่าวกันว่าดีกว่านาคลองรังสิตแลมีที่ว่างเหลืออยู่มากจะทำนาได้ใหญ่กว่าที่มีอยู่แล้วเดี๋ยวนี้อีก๑๐เท่าเขากะกำลังทุ่งนั้นว่าถ้ามีนาบริบูรณ์จะตั้งโรงสีไฟได้ประมาณ๑๐โรง…นาทั้งมณฑลนครศรีธรรมราชไม่มีที่ไหนสู้…บรรดาเมืองท่าในแหลมมลายูฝั่งตะวันออกเห็นจะไม่มีแห่งใดดีเท่าปากพนัง จากข้อความในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงสีไฟแห่งแรกในอำเภอปากพนังของนายโค้วฮักหงีในวันที่๘กรกฎาคมพ.ศ.๒๔๔๘ สะท้อนภาพอดีตของพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ของปากพนังอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเคยได้ชื่อว่า“เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้”ผลผลิตข้าวในอำเภอแห่งนี้เคยเป็นสินค้าส่งออกไปเลี้ยงแรงงานชาวจีนที่เข้ามาทำเหมืองแร่และยางพาราในบริเวณหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตกอย่างเมืองตรังพังงากระบี่ และภูเก็ตไปจนถึงดินแดนสเตรทส์เซทเทิลเมนส์(Straits Settlements)ของอังกฤษซึ่งอยู่บริเวณเกาะปีนังมะละกา และสิงคโปร์ ทำให้กิจการโรงสีไฟเฉพาะที่อำเภอนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วถึง๙โรง และมีเรือสำเภาจีนและเรือกลไฟของบริษัทต่างๆ ทั้งในสิงคโปร์และกรุงเทพฯมาชุมนุมกันเต็มหน้าอ่าวปากพนังเพื่อรอขนถ่ายข้าวสารไปจำหน่ายสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี วันนี้ภาพความยิ่งใหญ่ของแหล่งผลิตข้าวเพื่อการส่งออกในอำเภอปากพนังได้ผ่านพ้นไปแล้วทุ่งนาที่เคยปลูกข้าวจนไม่มีที่ว่างบัดนี้กลับมีให้เห็นบางตาลงส่วนใหญ่ถูกทิ้งร้างหรือเปลี่ยนสภาพไปเป็นเรือกสวนและนากุ้ง กิจการโรงสีไฟที่เจริญรุ่งเรืองเหลือเพียงซากของปล่องโรงสีที่ตั้งตระหง่านเป็นอนุสาวรีย์แห่งอดีตที่ชาวปากพนังภาคภูมิใจและที่แห่งนี้เรื่องราวแห่งความหลังของชาวนารุ่นผู้เฒ่าถูกเล่าขานเป็นตำนานในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น นโยบายการควบคุมและจัดการระบบการค้าข้าวของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่๒เป็นต้นมา นับแต่พระราชบัญญัติการค้าข้าวพ.ศ.๒๔๘๙ซึ่งในประกาศฉบับที่๘๕กำหนดให้มีการควบคุมประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศโดยโรงสีที่สามารถส่งออกข้าวได้นั้นจะต้องตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพระนครจังหวัดธนบุรีหรือจังหวัดใกล้เคียงซึ่งสะดวกที่จะส่งข้าวลงเรือเดินทะเลออกไปต่างประเทศเท่านั้นทำให้โรงสีไฟที่ปากพนังได้รับผลกระทบจากการที่ไม่สามารถส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศได้โดยตรงซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุประการสำคัญที่ทำให้กิจการโรงสีไฟในปากพนังเริ่มเสื่อมลง สุดท้ายใน๙โรงสีของอำเภอปากพนังที่เลิกสีข้าวไปเมื่อพ.ศ.๒๕๐๙ ซึ่งปัจจุบันเป็นแห่งเดียว