พระธาตุดอยตุง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดเชียงราย ที่นักท่องเที่ยวจะแวะมากราบสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลก่อนจะไปเที่ยวยังจุดต่อๆ ไป วันนี้ที่เราขึ้นมาก็เจอะกับฝนพรำเล็กน้อยระหว่างทางขึ้น แต่ก็ดีว่าอากาศแบบนี้ทำให้รอบข้างเขียวชอุ่มชุ่มฉ่ำดูเย็นตา ใครที่ขับรถมาเองขอให้ใช้ความระมัดระวังกันสักหน่อย เพราะทางขึ้นเขาบางจุดมีความโค้งชันครับ
ระหว่างทางเราจะผ่านจุดชมวิวกม.12 ก่อนด้วย ใครขึ้นมาแต่เช้า ก็จะได้โบนัสเป็นสายหมอกจางๆ เลียบเคียงไปตามสันเขา สวยไปอีกแบบ หากมีเวลาว่างอยากให้จอดชมวิวครับ
พอมาถึงด้านหน้าของวัดพระธาตุดอยตุงกันแล้ว ตามปกติจะสามารถขับรถขึ้นไปได้อีกเพื่อไปยังทางขึ้นบันไดสู่พระธาตุ แต่ถ้าใครอยากสัมผัสกับความร่มรื่น และความเงียบสงบแล้ว ก็เดินขึ้นได้เช่นกันครับ
เมื่อมาถึงด้านบนแล้วก็จะพบกับพระธาตุดอยตุง บรรยากาศวันปกติว่าเงียบสงบแล้ว พอวันฝนตกเลยพลอยทำให้เงียบเหงาไปบ้าง แต่ก็น่าจะถูกใจคนที่กำลังเบื่อความวุ่นวายอยู่
พอมาถึงด้านหน้าของวัดพระธาตุดอยตุงกันแล้ว ตามปกติจะสามารถขับรถขึ้นไปได้อีกเพื่อไปยังทางขึ้นบันไดสู่พระธาตุ แต่ถ้าใครอยากสัมผัสกับความร่มรื่น และความเงียบสงบแล้ว ก็เดินขึ้นได้เช่นกันครับ
เมื่อมาถึงด้านบนแล้วก็จะพบกับพระธาตุดอยตุง บรรยากาศวันปกติว่าเงียบสงบแล้ว พอวันฝนตกเลยพลอยทำให้เงียบเหงาไปบ้าง แต่ก็น่าจะถูกใจคนที่กำลังเบื่อความวุ่นวายอยู่
พระธาตุดอยตุง พระธาตุประจำปีเกิดปีกุน ในยามปกตินั้นจะต้องแสงอาทิตย์จนเป็นสีทองอร่ามตา สร้างความประทับใจให้กับนักเดินทางทุกคน เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า ต่อมาในสมัยพญามังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้
ตุง นับเป็นสัญลักษณ์สำคัญของชาวล้านนา หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง และชัยชนะ ในวัดจะมี รอยปักตุง เป็นรอยแตกบนผืนดิน เป็นรอยที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว ตุง นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนา หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง การมีชัยชนะ
หลังจากกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เรียบร้อย ใครเหนื่อยก็เดินทางลงมาโดยอาศัยพี่วินมอเตอร์ไซค์ได้ครับ หรือจะเดินลงเหมือนเดิมก็ตามถนัด ถึงข้างล่างแล้วอย่าลืมแวะซื้อของติดไม้ติดมือจากร้านค้าข้างล่างด้วยนะ
ประวัติพระธาตุดอยตุง
ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ (ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่พระเจ้าอชุตราชได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วา ปักบนยอดเขา หากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยเจ้ามังรายนราชแห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ เจ้ามังรายนราชจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้
การเดินทาง : ใช้เส้นทางเชียงราย-แม่สาย – พระตำหนักดอยตุง ก่อนจะถึงทางแยกเข้าพระตำหนักดอยตุงให้ตรงไปทางสวนรุขชาติดอยช้างมูบ จะมีป้ายบอกทางขึ้นวัดพระธาตุดอยตุง ระยะทางจากแยกพระตำหนักถึงวัดประมาณ 7 กม. และ ระยะทางจากเชียงรายถึงพระธาตุดอยตุงประมาณ 60 กิโลเมตร
พระธาตุดอยตุง
ที่ตั้ง : วัดพระธาตุดอยตุง ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
พิกัด : https://goo.gl/maps/KkvqTyo7oBVhK78X6