สินค้าแนะนำ

ปัตตานี หากเอ่ยชื่อจังหวัดนี้

ปัตตานี หากเอ่ยชื่อจังหวัดนี้

ปัตตานี หากเอ่ยชื่อจังหวัดนี้ ภาพที่เกี่ยวกับความเป็นเมืองท่องเที่ยวในความรู้จักมีน้อยมาก นอกจากมัสยิดกลาง ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว วัดช้างให้ ก็ไม่เคยรู้เลยว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ส่วนใหญ่จะได้ยินแต่ข่าวความไม่สงบของที่นี่มากกว่า แต่นั้นก็เป็นเพียงเรื่องราวที่ได้เห็นจากการนำเสนอจากสื่อภายนอก จากคำบอกเล่าของคนอื่น จนก่อให้เกิดความกลัวในใจนิดๆ เป็นเรื่องของความคิดที่สร้างขึ้นมาเอง โดยที่ไม่เคยได้เข้ามาสัมผัสเมืองนี้แบบจริงจัง มาในวันนี้เลยคิดว่าเอานะครั้งหนึ่งในชีวิต ลองเปิดใจมาเที่ยวปัตตานีดูสักที จากนั้นก็พยายามหาข้อมูลท่องเที่ยวแบบตั้งใจดูบ้าง โอ้ โห อึ้งไปเล็กน้อย เรืองเที่ยวปัตตานีก็ไม่ได้น้อยหน้าใคร เรามีโอกาสได้แวะไปปัตตานีแบบสั้นๆแค่  1 วัน ซึ่งค่อนข้างเพียงพอสำหรับการไปเที่ยวยังสถานที่ไฮไลท์  8 แห่ง เป็นช่วงเวลาแห่งโอกาสที่จะได้ทำความรู้จักกับจังหวัดนี้ให้มากขึ้น

สำหรับการมาเที่ยวปัตตานี  หากใครมาถึงในปัตตานีแล้วขับรถได้ แนะนำให้เช่ารถขับ เพราะใช้รถโดยสารอาจไม่สะดวกเท่าใดนัก สถานที่บางแห่งรถโดยสารไปไม่ถึง และเหมารถคงราคาแพง เช่ารถวันละ 1000 กว่าบาท น่าจะคุ้มกว่า  ที่ปัตตานีมีบริษัทรถให้เช่า สามารถติดต่อได้ที่  ซีสยาม แทรแวล ลิงค์เพจที่  http://bit.ly/2GlQNPg  หรือหากนั่งเครื่องบินมาลงที่หาดใหญ่สามารถเช่ารถจากสนามบินหาดใหญ่แล้วขับมาปัตตานีได้เลย จากสนามบินหาดใหญ่ใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่งมาถึงปัตตานีถ้าไม่มาที่ วัดช้างให้  เหมือนมาไม่ถึง วัดช้างให้ ตั้งอยู่ที่อำเภอโคกโพธิ์ ห่างจากตัวเมืองปัตตานีโดยใช้เวลาเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี วัดช้างให้ ถือว่าเป็นวัดต้นตำรับของหลวงปู่ทวด เพราะท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดและอัฐของท่านก็ถูกบรรจุไว้ที่วัดแห่งนี้ วัดช้างให้จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อและเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของจังหวัดปัตตานี ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามากราบสักการะหลวงปู่ทวดอย่างไม่ขาดสาย ที่เรียกว่าเมื่อมาถึงปัตตานีดินแดนแห่งปลายด้ามขวานแล้วต้องแวะมาให้ได้ด้านหน้าวัดเป็นที่ตั้งของสถูปหรือมณฑปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตพัทธสีมาที่ชาวบ้านเรียกว่า “เขื่อนหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” หรือ “เขื่อนท่านเหยียบน้ำทะเลจืด” (คำว่าเขื่อนเป็นภาษาคนพื้นเมืองทางภาคใต้ หมายถึงสถูปที่บรรจุอัฐิของผู้มีบุญ) ซึ่งมีมาก่อนแล้วซึ่งสถูปแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง มีผู้คนไปกราบไหว้บนบานอยู่เนืองนิจ ใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรือวัตถุสิ่งของถูกขโมย หรือศูนย์หายก็พากันไปบนบาน ณ ที่สถูปแห่งนี้   มณฑปหรือสถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ทวดมีรูปปั้นช้างหันหน้าเข้าหามณฑป ทั้ง ๒ ข้าง จากประวัติของวัดช้างให้ ซึ่งมีหลวงพ่อทวดหรือที่ชาวเมืองเมืองไทรบุรีเรียกว่า “ท่านลังกา” หลวงพ่อทวดช่วงที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ ท่านก็ยังเดินไปมาระหว่างวัดช้างให้กับไทรบุรีอยู่เสมอ  และเมื่อหลวงพ่อทวด มรณภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ได้นำศพกลับมาที่วัดช้างให้ แต่ในการนำศพกลับมาต้องพักแรมในระหว่างทางเป็นเวลาหลายวัน กว่าจะถึงวัดช้างให้ ในการพักแรมเมื่อตั้งศพ ณ สถานที่ใด ที่นั้นก็จะเอาไม้แก่นปักหมายไว้ทุก ๆ แห่งเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งถึงวัดช้างให้ สถานที่ตั้งศพพักแรมตามระหว่างทางนี้กลายเป็นสถานที่สักการะเคารพของคนในถิ่นนั้น บางแห่งก็ก่อเป็นเจดีย์ไว้ บางแห่งก่อเป็นสถูปไว้และถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญ

ย้อนกลับเข้ามาในตัวเมืองปัตตานี มุ่งหน้าไปยังสถานที่แลนด์มาร์คที่สำคัญ มัสยิดกลางปัตตานี ที่ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงามมีความโดดเด่น และยังเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของผู้นับถือศาสนาอิสลามในภาคใต้ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง รูปทรงภายนอกของมัสยิดมีต้นแบบมาจากทัชมาฮาล เป็นสถานที่เมื่อมาถึงปัตตานีต้องมาชมศิลปะ และความสวยงามของตัวอาคาร มัสยิดแห่งนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นมัสยิดที่สวยงามที่สุดในประเทศไทยอีกด้วยบรรยากาศภายในเงียบสงบ  มีผู้คนมาเยี่ยมชมตลอดไม่ขาดสาย ทั้งจากภายในประเทศไทย และจากมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีซีย ด้านหน้าก่อนถึงตัวอาคาร เป็นทางเดินทอดยาว ระหว่างทางมีต้นปาล์มลูกเรียงรายเป็นทิวแถว ยิ่งเดินเข้าไปยิ่งรู้สึกตื่นเต้น สัมผัสได้ถึงความสวยงามแลยิ่งใหญ่ของมัสยิดแห่งนี้ ทั้งอาคารสีที่ใช้ที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เป็นมัสยิดที่สวยงามที่สุดอีกแห่งหนึ่งเท่าที่เคยเห็นมาเลยก็ว่าได้ เห็นภาพในอินเทอร์เน็ตมาเนิ่นนานหลายปี ดีใจมากที่สุดที่ได้มาเห็นด้วยตาตัวเองตัวอาคารสีครีมกับสีส้มอ่อน และสีเหลือง มียอดโดมสีเขียวขนาดใหญ่กลาง และโดมขนาดเล็กลงไปล้อมรอบ 4 ด้าน ด้านข้างมีหออะซาน 2 หอ รอบตัวอาคารใช้ลวดลายตกแต่งสถาปัตยกรรมอย่างวิจิตรงดงาม และมีสระน้ำพุซึ่งมีพื้นน้ำสีเขียวมรกตอยู่บริเวณด้านหน้า สระน้ำเบื้องหน้าส่องสะท้อนแสงเงาของมัสยิดอย่างงดงาม ยิ่งเพิ่มความโดดเด่นให้แก่มัสยิดกลางแห่งนี้มากขึ้น ส่วนภายในสร้างเป็นห้องโถง มีระเบียงอยู่สองข้าง มีมิมบัรทรงสูงและแคบตั้งอยู่มีหินอ่อนประดับประดาอย่างงดงามมัสยิดกลางปัตตานีส่วนใหญ่จะใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ (ละหมาด) วันละ 5 เวลา เป็นกิจวัตรประจำวัน ใช้ในการละหมาดวันศุกร์ และการละหมาดในวันตรุษต่าง ๆ โดยมีชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ปัตตานี และพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในวันศุกร์และวันเสาร์ จะมีการบรรยายธรรมะมีผู้เข้าฟังการบรรยาย ประมาณครั้งละ 3,000 คน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในหลักการของศาสนา และเพื่อความถูกต้องในการบำเพ็ญศาสนกิจ  เป็นศาสนสถานแห่งศรัทธา สง่างาม มีมนต์ขลัง มีสถาปัตยกรรมงดงาม เป็นอีกหนึ่งความสวยงามแห่งปัตตานีที่ควรค่าแห่งการมาเยือน

หลังจากพักเที่ยวแวะทานอาหารกลางวันในตัวเมืองแล้ว เรามุ่งหน้าๆไปต่อยัง มัสยิดกรือแซะ  เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองปัตตานี สันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด  ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบโกธิคของยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง รูปลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เสาทรงกลมเลียนรูปลักษณะเสา ช่องประตู หน้าต่างมีทั้งแบบโค้งแหลม และโค้งมนแบบโกธิค โดมและหลังคายังก่อสร้างไม่เสร็จ อิฐที่ใช้ก่อมีรูปลักษณะเป็นอิฐสมัยอยุธยา ตรงฐานมัสยิดมีอิฐรูปแบบคล้ายอิฐสมัยทวารวดีปะปนอยู่บ้างสำหรับประวัตของมัสยิด ตามหนังสือสยาเราะห์ปัตตานีของนายหะยี หวันหะซัน กล่าวว่า สุลต่านลองยุนุสเป็นผู้สร้างประมาณปีฮิจเราะห์ ๑๑๔๒ ตรงกับพุทธศักราช ๒๒๖๕ สมัยอยุธยาตอนปลาย เหตุที่ก่อสร้างไม่เสร็จเนื่องจากเกิดสงครามแย่งชิงราชสมบัติระหว่างสุลต่านลองยุนุสกับระตูปะกาลันซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ หลังจากสุลต่านลองยุนุสสิ้นพระชนม์แล้ว ระตูปูยุดได้รับตำแหน่งสุลต่านเมืองตานีคนต่อมาได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองตานีไปตั้งอยู่ ณ บ้านปูยุด (ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานี) บริเวณที่ตั้งวังของระตูปูยุด ยังคงปรากฏร่องรอยกำแพงอยู่จนบัดนี้ จนไม่มีผู้ใด้คิดสร้างต่อเติมมัสยิดอีกทิ้งไว้รกร้าง ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และทำการบูรณะซ่อมแซม ทั้งนี้เพื่อให้มัสยิดกรือเซะคงสภาพเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี และใช้เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจได้ต่อไปบริเวณด้านหน้าของมัสยิดมีฮวงซุ้ย หรือสุสานที่ฝังศพของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่ได้รับการตกแต่งพูนดินใหม่ปรากฏอยู่ มีผู้คนไปกราบไหว้กันมากพร้อมด้วยสิ่ง- ก่อสร้างอื่น ๆ เช่น เก๋งจีน โอ่งน้ำสีแดง  อีกหนึ่งตำนานของมัสยิดกรือแซะ เล่ากันว่า สร้างโดยลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งเป็นชาวจีนได้มาแต่งงานกับธิดาพระยาตานีและได้เปลี่ยน มานับถือศาสนาอิสลาม ต่อมาน้องสาวของลิ้มโต๊ะเคี่ยมชื่อลิ้มกอเหนี่ยว ได้ลงเรือสำเภามาตามให้พี่ชายกลับ เมืองจีนแต่ไม่สำเร็จ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้สร้างมัสยิดกรือเซะขึ้น ลิ้มกอเหนี่ยวจึงได้สาปแช่ง ขออย่าให้สร้างมัสยิดสำเร็จ และตัวเองได้ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้จัดการฝังศพน้องสาวไว้ที่หน้ามัสยิดนี้ ชาวปัตตานีนำต้นไม้ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะเป็นรูปบูชาและสร้างศาลเจ้า ต่อมาได้มีการอัญเชิญเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมาประดิษฐานไว้ ณ ศาลเจ้าแห่งใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู ในเขตเทศบาล เมืองปัตตานี เรียกว่าศาลเจ้าเล่งจูเกียง ( ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว) เป็นที่นับถือของชาวปัตตานีและชาวจังหวัด ใกล้เคียง ส่วนมัสยิดกรือเซะก็เป็นไปตามคำสาป เพราะไม่สามารถสร้างเสร็จได้ เมื่อจะสร้างต่อก็ให้มีอาเพศ ฟ้าผ่าทุกครั้งไป จนถึงปัจจุบันก็ไม่มีใครกล้าสร้างมัสยิดกรือเซะต่อ คงเหลือซากทิ้งไว้ตราบเท่าทุกวันนี้

บริเวณด้านหน้าของมัสยิดมีฮวงซุ้ย หรือสุสานที่ฝังศพของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่ได้รับการตกแต่งพูนดินใหม่ปรากฏอยู่ มีผู้คนไปกราบไหว้กันมากพร้อมด้วยสิ่ง- ก่อสร้างอื่น ๆ เช่น เก๋งจีน โอ่งน้ำสีแดง  อีกหนึ่งตำนานของมัสยิดกรือแซะ เล่ากันว่า สร้างโดยลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งเป็นชาวจีนได้มาแต่งงานกับธิดาพระยาตานีและได้เปลี่ยน มานับถือศาสนาอิสลาม ต่อมาน้องสาวของลิ้มโต๊ะเคี่ยมชื่อลิ้มกอเหนี่ยว ได้ลงเรือสำเภามาตามให้พี่ชายกลับ เมืองจีนแต่ไม่สำเร็จ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้สร้างมัสยิดกรือเซะขึ้น ลิ้มกอเหนี่ยวจึงได้สาปแช่ง ขออย่าให้สร้างมัสยิดสำเร็จ และตัวเองได้ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้จัดการฝังศพน้องสาวไว้ที่หน้ามัสยิดนี้ ชาวปัตตานีนำต้นไม้ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะเป็นรูปบูชาและสร้างศาลเจ้า ต่อมาได้มีการอัญเชิญเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมาประดิษฐานไว้ ณ ศาลเจ้าแห่งใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู ในเขตเทศบาล เมืองปัตตานี เรียกว่าศาลเจ้าเล่งจูเกียง ( ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว) เป็นที่นับถือของชาวปัตตานีและชาวจังหวัด ใกล้เคียง ส่วนมัสยิดกรือเซะก็เป็นไปตามคำสาป เพราะไม่สามารถสร้างเสร็จได้ เมื่อจะสร้างต่อก็ให้มีอาเพศ ฟ้าผ่าทุกครั้งไป จนถึงปัจจุบันก็ไม่มีใครกล้าสร้างมัสยิดกรือเซะต่อ คงเหลือซากทิ้งไว้ตราบเท่าทุกวันนี้

ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ความศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองปัตตานีมาแต่โบราณ ตั้งอยู่ในตัวเมืองปัตตานี เป็นที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นศูนย์รวมจิตใจและศูนย์รวมศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีนในปัตตานี ในต่างจังหวัดและในต่างประเทศ ศาลเจ้าแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า “ศาลเจ้าเล่งจูเกียงหรือชื่อที่ชาวบ้านเรียก “ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” หลายท่านอาจเคยได้ยินประวัติความเป็นมาของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวกันมาบ้าง ตามตำนานเล่าว่าลิ้มกอเหนี่ยวเป็นสาวชาวจีนจากเมืองฮกเกี้ยน ซึ่งเกิดในช่วงสี่ถึงห้าร้อยปีมาแล้ว นางเดินทางลงเรือสำเภามายังเมืองปัตตานี เพื่อตามพี่ชายชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยมให้กลับไปหามารดาที่ชราภาพที่บ้านเกิด แต่ได้พบความจริงว่า พี่ชายของตนได้แต่งงานกับธิดาพระยาตานีแล้วเข้ารับราชการในจวนเจ้าเมือง และได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม จึงไม่สามารถกลับไปยังเมืองจีนพร้อมนางได้ ลิ้มกอเหนี่ยวจึงได้ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ดังสัจวาจาที่กล่าวไว้กับมารดาว่า “หากตามพี่ชายกลับไปหามารดาไม่ได้ จะไม่ขอมีชีวิตอยู่ต่อไป” ลิ้มโต๊ะเคี่ยมผู้เป็นพี่ชายจึงได้ฝังศพของนางไว้ที่ฮวงซุ้ยที่หมู่บ้านกรือเซะนอกเมืองปัตตานี กล่าวขานกันว่า ดวงวิญญาณของนางได้แสดงอิทธิฤทธิ์เป็นที่เลื่องลือในหมู่ชาวบ้านทั่วไป พอมีผู้มาขอพรให้โชคลาภก็ได้ผล หรือแม้แต่การค้าขายที่ซบเซาหรือขาดทุนก็กลับรุ่งเรืองขึ้นจนทำให้เกิดความนับถือศรัทธาอย่างมาก ชาวปัตตานีจึงได้นำต้นไม้ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะสลักเป็นรูปบูชาและสร้างศาลเจ้าขึ้น สำหรับองค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตาโชคลาภ ค้าขาย ซึ่งเป็นที่นิยมมากราบไหว้ของพรเพื่อเป็นศิริมงคลกับชีวิต

Share