ข้อมูลสถานที่
อนุสาวรีย์ของสองท้าวแห่งนี้ตั้งอยู่ที่วงเวียนสี่แยกท่าเรือ ตำบลซรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยได้มีการสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2509 โดยมีการปรากฏไว้ใหลักฐานสำคัญในจดหมายเหตุเมืองถลาง และเพื่อเป็นการสนองต่อพระราชดำริในประบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวที่ได้เสด็จไปเพื่อเปิดถนนสายถลางที่ได้ประราชทานนามว่า ถนนเทพกระษัตรีและได้มีการนำชื่อของสองท้าวมาตั้งเป็นชื่อตำบลเทพกระษัตรีและตำบลศรีสุนทรอีกด้วย โดยจะมีการจัดงานรำลึกถึงวีรกรรมของวีรสตรีสองท้าวนี้เป็นประจำในทุกปี
ลักษณะเด่น
-เป็นอนุสาวรีย์ของวีรสตรี 2 ท่านแห่งเมืองถลางเกาะภูเก็ต -เป็นอนุสาวรีย์ที่ผู้คนนิยมมากราบไหว้ สักการะ
ประวัติ
ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรหรือคุณหญิงจันกับคุณหญิงมุกเป็นอีกหนึ่งสถานที่อันเป็นอนุสรณ์สถานแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทยและเพื่อเป็นการสำนึกและรำลึกถึงวีรกรรมรวมทั้งความเสียสละเพื่อปกป้องชาติของวีรสตรีแห่งเมืองถลางเกาะภูเก็ตแห่งนี้ อนุสาวรีย์วีรสตรีอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 12 กิโลเมตร โดยอนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นรูปปั้นของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรที่เป็นวีรสตรีผู้มีความกล้าหาญและเสียสละด้วยความรักชาติซึ่งในตอนนั้น พม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีโดยแบ่งออกเป็น 9 ทัพ หรือที่เรียกกันว่าสงครามทัพที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี โดยพม่าได้แบ่งทัพแยกออกเพื่อเข้าตีเมืองต่างๆของดินแดนสยาม ณ ขณะนั้น โดยมีทัพหนึ่งได้เข้าทางเมืองกระ ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งซึ่งใกล้กับเมืองถลาง คุณหญิงจันและคุณหญิงมุกซึ่งเป็นภริยาของเจ้าเมืองแต่เนื่องจากสามีของตนได้ถูกลอบสังหารเสียชีวิต จึงได้ทำการรวบรวมกำลังคนชาวบ้านทั้งชายและหญิงให้แต่งกายเป็นนักรบชายเพื่อต่อสู้กับข้าศึกโดยคุณหญิงทั้งสองได้แต่งกายเป็นชายโดยใช้ทั้งความสามารถและกลอุบายต่อสู้กับทัพของพม่าจนได้รับชัยชนะในที่สุด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บำเหน็จแก่ผู้ทำคุณความดีแก่แผ่นดิน โดยพระราชทานการแต่งตั้งให้คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรี ส่วนคุณหญิงมุกได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นท้าวศรีสุนทร
ตำบล: ศรีสุนทร อำเภอ: ถลาง จังหวัด: ภูเก็ต 83110